จุรินทร์ จับมือ เฉลิมชัย นำ กระทรวงพาณิชย์-กระทรวงเกษตรฯ ขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ "เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด" เดินหน้ายุทธศาสตร์ "ตลาดนำการผลิต" ลุยนำสินค้าเกษตรบุกตลาดโลก

           (วันที่ 10 มิถุนายน 2563) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รอง นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์  กับ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  นำ นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ และนายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  พร้อมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงพาณิชย์กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จับมือสร้างประเทศเป็นศูนย์กลางสินค้าเกษตรและอาหารคุณภาพของโลก โดยมีเป้าหมายเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศ เพิ่มจีดีพีประเทศ และเพิ่มรายได้เกษตรกรและผู้ประกอบการ ซึ่งทั้ง 2 กระทรวงมีพันธกิจร่วมกัน คือ สร้าง Single Big Data ใช้ข้อมูลจากฐานเดียวกัน สร้างแพลตฟอร์มกลาง “เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด” สร้างความเชื่อมั่นด้วยคุณภาพ มาตรฐานความปลอดภัยและการตรวจสอบย้อนกลับ พัฒนาคนและผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของตลาด

โดยนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์  จะนำกระทรวงพาณิชย์เดินหน้าภายใต้นิยาม "พาณิชย์ทันสมัย" นำเทคโนโลยีและข้อมูลมาใช้ เพื่อทำการตลาดอย่างแม่นยำ สร้างทีมเซลล์แมนจังหวัดและทีมเซลล์แมนประเทศ ขยายตลาดด้วยเทคโนโลยีและการค้าออนไลน์ สร้างโมเดลการค้าใหม่ให้เกิดขึ้น ส่งเสริมและสร้างความเชื่อมั่นในสินค้าไทย โดยมุ่งไปทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ใช้ทีมเซลล์แมนจังหวัดประกอบด้วย พาณิชย์จังหวัด ผู้ประกอบการในจังหวัด ด้านตลาดต่างประเทศ ใช้ทีมเซลล์แมนประเทศประกอบด้วยทูตพาณิชย์กับผู้ส่งออกภาคเอกชน มีช่องทางการตลาด คือ ออนไลน์ (แพลตฟอร์มรายการสินค้าเพื่อรองรับนิวนอร์มอล) ออฟไลน์ (โมเดิร์นเทรด ,สมาร์ทโชวห่วย ,ธงฟ้า ,โมบายมาร์เก็ต ,โมบาย ,รถพุ่มพวง,คาราวาน ,ตลาดต่างๆ,ตลาดกลาง ,ตลาดสด) คอนแทรคฟาร์มมิ่ง (ทำเกษตรพันธสัญญา)เคาน์เตอร์เทรด (สร้างเวทีสร้างจับคู่ให้มากขึ้น)" วันนี้ต้องถือว่าเป็นวันประวัติศาสตร์อีกวันหนึ่งของประเทศไทย คือ เป็นการเปิดศักราชใหม่อย่างเป็นรูปธรรมในการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างสองกระทรวงหลักคือกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

หัวใจสำคัญของวันนี้ก็คือการเปิดวิสัยทัศน์สำคัญร่วมกันของทั้งสองกระทรวงภายใต้วิสัยทัศน์เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด สร้างโอกาสไทยทุกคนโดยใช้ยุทธศาสตร์ ตลาดนำการผลิตและภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ว่านี้มีเป้าหมายชัดเจน คือเป้าหมายในการเดินหน้ายุทธศาสตร์เป็นเป้าหมาย 1 สร้าง 3 เพิ่ม หนึ่งสร้างที่ว่าก็คือการสร้างประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสินค้าเกษตรและอาหารคุณภาพของโลก ส่วนเป้าหมายสามเพิ่ม ที่ว่าก็คือเพิ่มที่หนึ่ง คือ การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศ เพิ่มที่สองก็คือการเพิ่ม GDP ให้กับประเทศ และเพิ่มที่สามก็คือการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการในทุกระดับ โดยการที่จะบรรลุหนึ่งสร้างสามเพิ่มนั้นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับกระทรวงพาณิชย์จะต้องมีพันธกิจร่วม 4 พันธกิจด้วยกัน พันธกิจร่วมที่หนึ่งก็คือการที่จะต้องร่วมกันสองกระทรวงในการสร้าง Single Big Data ให้เกิดขึ้น เพื่อให้ทั้งสองกระทรวงได้ใช้ข้อมูลจากฐานเดียวกันเสียที ไม่มีของเขาของเรา ไม่มีของพาณิชย์ไม่มีของเกษตร มีแต่ Single Big Data ร่วมของประเทศทั้งด้านการผลิตและการตลาด" นายจุรินทร์ กล่าว

นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า พันธกิจร่วมที่สอง ก็คือการที่เราจะต้องร่วมกับสองกระทรวงสร้างแพลตฟอร์มกลางเกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด ให้เกิดขึ้นให้ได้เพื่อให้ภาคการผลิตคือภาคการเกษตร ภาคการแปรรูป อุตสาหกรรม ภาคการค้า การลงทุนการส่งออกได้สามารถมาใช้แพลตฟอร์มกลางที่ว่านี้เป็นเวทีแลกเปลี่ยนข้อมูลแลกเปลี่ยนพันธสัญญาในการซื้อขายและการทำการตลาดร่วมกันได้อย่างเป็นรูปธรรมต่อไปในอนาคต พันธกิจร่วมที่สาม ก็คือการที่สองกระทรวงจะต้องร่วมกันในการสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นในสินค้าเกษตรของท่านโดยจะต้องมุ่งเน้นคุณภาพ มาตรฐาน ความปลอดภัย และการสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ ซึ่งนี่คือเป้าหมายของการตลาดและการผลิตยุคใหม่ที่โลกต้องการและเป็นการสะท้อนว่าเราเดินไปสู่ยุทธศาสตร์ ตลาดนำการผลิต เพราะถ้าตรวจสอบย้อนกลับไม่ได้ก็จะขายยากในตลาดโลก โดยเฉพาะตลาดสำคัญของโลกในประเทศที่มีศักยภาพมีที่ดี มีรายได้สูง

พันธกิจร่วมประการที่สี่ อยู่ที่กระทรวงเกษตรและกระทรวงพาณิชย์ต้องทำร่วมกันก็คือในเรื่องของการที่จะต้องพัฒนาคนและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้ตรงตามความต้องการของตลาดร่วมกันทั้งคนทั้งผลิตภัณฑ์ทั้งสองกระทรวงต้องพัฒนาไปด้วยกันพร้อมกัน เพื่อนำไปสู่เป้าหมายยุทธศาสตร์ ตลาดนำการผลิต และเพื่อนำไปสู่เป้าหมายวิสัยทัศน์สร้างโอกาสไทยทุกคน นี่คือ 4 พันธกิจร่วมเบื้องต้นที่ขอเปิดวิสัยทัศน์ในวันนี้ ที่สองกระทรวงจะทำร่วมกันให้เกิดผลเป็นรูปธรรม การที่จะบรรลุพันธกิจรวม 4 พันธกิจ จะต้องมีการตั้งคณะทำงานร่วมกันสองกระทรวง โดยมีประธานทั้งสองกระทรวงเป็นผู้ไปทำธุรกิจร่วมกัน ในการจัดทำเป้าหมายที่เป็นตัวเลขชัดเจน ไปทำแผนปฏิบัติทำโครงการขับเคลื่อน ทำตัวชี้วัด และไปทำทุกอย่างให้ผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม ต่อไปตนแนะนำว่านอกจากคณะทำงานชุดรวมแล้วต้องมีคณะทำงานแต่ละชุดที่จะบรรลุเป้าหมายพันธกิจร่วม 4 ชุดนี้และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต้องเดินหน้าไปสู่เป้าหมายของการเป็นเกษตรทันสมัย กระทรวงพาณิชย์ก็เช่นเดียวกันต้องเดินหน้าไปสู่การเป็นพาณิชย์ทันสมัย

 พาณิชย์ทันสมัย คือ ประการที่หนึ่งต้องเป็นพาณิชย์ที่นำเทคโนโลยีและข้อมูลทันสมัยมาใช้เพื่อทำการตลาดอย่างแม่นยำจากทุกมุมโลกจากทุกข้อมูล จากทุกแหล่งมาบูรณาการและมากลั่นกรองเป็นข้อมูลที่จะนำไปสู่การดำเนินการทางการตลาดที่ถูกต้องชัดเจน

พาณิชย์ทันสมัยประการที่สองก็คือกระทรวงพาณิชย์ต้องสร้างทีมเซลล์แมนจังหวัดและทีมเซลล์แมนประเทศทำให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม มีศักยภาพและมีประสิทธิภาพให้ได้ เซลล์แมนจังหวัดไม่ใช่แค่พาณิชย์จังหวัดคนเดียวแล้วตั้งตัวเองเป็นเซลล์แมนจังหวัดแต่เซลล์ในจังหวัดต้องประกอบด้วย พาณิชย์จังหวัด ภาคเอกชน ภาคการผลิตและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมาร่วมกันทำงานเซลล์ทีมเซลล์แมนจังหวัด เพื่อทำหน้าที่ทางการตลาดภายใต้หลักพาณิชย์ทันสมัย ทีมเซลล์แมนประเทศต้องประกอบ ด้วยพาณิชย์และภาคเอกชน ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดรวมทั้ง ผู้นำเข้าในตลาดประเทศนั้น มารวมตัวกันเป็นทีมเซลล์แมนประเทศ จึงจะเป็นพาณิชย์ทันสมัย 

ประการที่สาม จะต้องมีการขยายตลาดการค้าออนไลน์ซึ่งถือว่าเป็นระบบการค้าแบบที่เรายังไม่นำมาใช้อย่างแพร่หลายจริงจัง ต่อไปจะเป็น New Normal ตัวจริงของตลาดโลกขึ้นมา เพราะเมื่อคนนับหนึ่งจากการระบบใช้ ecommerce การใช้การค้าออนไลน์ต่อไป ก็คงจะชินกับระบบนี้และสะดวกคล่องตัวโดยไม่ต้องเดินทางไปพบตัวเอง แค่ซื้อบนจอรวมทั้งเทคโนโลยีที่ทันสมัยต่อไป เราต้องเดินไปสู่การใช้ Blockchain ในการเจรจาติดต่อกัน การขายและการลงทุนอนาคต ประการที่สี่ก็จะต้องเน้นในการสร้างโมเดลการค้ารูปแบบใหม่ๆให้เกิดขึ้นเพิ่มเติม เช่นในอนาคตอาจจะต้องนำทั้งหมด drop off ศูนย์รวม ศูนย์กระจายสินค้ามาใช้มากขึ้นรวมทั้งการเชื่อมระบบทั้งออฟไลน์และออนไลน์เข้ามาไว้ด้วยกัน โดยไม่แยกส่วนก็จะเป็นโมเดลทางการตลาดรูปแบบใหม่ที่ช่วยกันสองกระทรวงพัฒนาร่วมกัน 

และประการสุดท้ายนิยามของพาณิชย์ทันสมัย ก็คือเราจะต้องสามารถเดินหน้าไปสู่การสร้างความเชื่อมั่น และส่งเสริมให้เกิดความเชื่อมั่นในสินค้าไทยโดยเฉพาะสินค้าทางการเกษตรที่เราจับมือกับกระทรวงเกษตรให้ขึ้นไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการสร้างความเชื่อมั่นด้วยกันสร้างแบรนด์ จดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา หรือการสร้าง Trust Mark ให้เกิดขึ้นกับตลาดโลกทั้งโลกนี่คือนิยามของคำว่าพาณิชย์ทันสมัย

สำหรับช่องทางการตลาดที่จะนำสินค้าเกษตรไปขายให้กับผู้ซื้อหรือผู้บริโภคเราจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ตลาดในประเทศกับตลาดต่างประเทศตลาดในประเทศ ที่ว่าก็จะทีมเซลล์แมนจังหวัดเป็นกลไกสำคัญตลาดต่างประเทศก็จะมีทีมเซลล์แมนประเทศ ในการที่จะไปทำตลาดในต่างประเทศของโลก ส่วนช่องทางการตลาดเราได้คุยกันระหว่างสองกระทรวงและได้ข้อสรุปร่วมกันว่าอย่างน้อย 4 ช่องทางการตลาด

 ช่องทางตลาดที่หนึ่งคือตลาดออฟไลน์ซึ่งถือว่าเป็นตลาดดั้งเดิมในตลาดรูปแบบเดิมที่เราได้ใช้มาในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา แต่ก็ยังสามารถพัฒนารูปแบบไปได้อีกเยอะ ไม่จำเป็นต้องอยู่รูปแบบเดิม เพื่อนำไปสู่พาณิชย์ทันสมัย ประกอบด้วยโมเดิร์นเทรด สมาร์ทโชวห่วย ที่ผมมีนโยบายยกระดับโชวห่วยขึ้น เป็นสมาร์ทโชวห่วย มีการใช้เทคโนโลยีรูปแบบการบริหารจัดการเข้ามาช่วยภายใต้การดูแลของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ร้านธงฟ้าก็ยังถือเป็นช่องทางตลาดออฟไลน์ของเราอีกช่องทางหนึ่ง โมบายมาร์เก็ตที่ผมจะเป็นตลาดชั่วคราวที่ไม่จำเป็นต้องไปสร้างอาคารขนาดใหญ่ ก็คือตลาดชั่วคราว ตลาดเฉพาะกิจที่ต้องทำงานเชิงรุกของทีมเซลล์แมนจังหวัดในการเป็นช่องทางระบายสินค้าทางการเกษตร เช่น ต้องสนองความต้องการตลาด และระบายสินค้าเกษตรต้องทำที่หนึ่งสัปดาห์จบ ถ้าสินค้าหมด นี่ก็คือทิศทางของตลาดออฟไลน์ที่เรียกว่าโมบายมาร์เก็ต รถพุ่มพวงก็จะเป็นช่องทางหนึ่งที่สามารถสนองต่อความต้องการของตลาดออฟไลน์ได้ คาราวานสินค้าของกระทรวงพาณิชย์ตลาดต่างๆไม่ว่าจะเป็นตลาดกลาง ตลาดสด ตลาดนัด ตลาดต้องชม เป็นต้น นี่คือตลาดออฟไลน์

ตลาดที่สอง ก็คือตลาดออนไลน์ ทวีความสำคัญยิ่งขึ้นตลาดออนไลน์นั้นจะต้องมีแพลตฟอร์มทั้งในประเทศและแพลตฟอร์มต่างประเทศ และแพลตฟอร์มกลางเกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด ที่เราจะต้องสร้างให้เกิดขึ้นและเป็นช่องทางระบายสินค้าเกษตรต่อไปอย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ สามการทำคอนแทรคฟาร์มมิ่ง ซึ่งขณะนี้พระราชบัญญัติเกษตรพันธสัญญามีผลบังคับใช้แล้ว จะช่วยให้เกษตรกรผู้ผลิตมีหลักประกันว่า ถ้าลงนามในเกษตรพันธสัญญาแล้วเขามีหลักประกันเรื่องราคารับซื้อ ปริมาณการรับซื้อ โดยผู้ซื้อผู้บริโภคหรือจะนำไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของ value chain ในภาคการผลิตสินค้าต่อเนื่องอย่างไร และจะเป็นสิ่งที่กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรให้ความสำคัญร่วมกันมากขึ้นเพื่อสร้างหลักประกันทั้งผู้ซื้อและผู้ประกอบการ ช่องทางสุดท้ายสี่คือการนำ counter trade มาใช้โดยการสร้างเวทีจับคู่การค้าการผลิตมาพบกันให้มากขึ้นในรูปของการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าหรือรูปแบบใดก็สุดแล้วแต่ ตามความเหมาะสมของแต่ละกรณีทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ นี่คือวิสัยทัศน์ เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด สร้างโอกาสไทยทุกคน  " วันนี้เป็นเพียงการเริ่มต้นของวิสัยทัศน์เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด สร้างโอกาสไทยทุกคน ถัดจากนี้ไปทั้งสองกระทรวงและบุคลากรทั้งสองกระทรวงยังมีภารกิจที่จะต้องนำวิสัยทัศน์นี้ และหลักคิดนี้ไปสู่ภาคปฏิบัติให้เกิดขึ้นให้ได้เพื่อเกษตรกร เพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ รวมทั้งสร้างเศรษฐกิจระดับกลางของผู้ประกอบการและระดับรวมในฐานะผู้ส่งออกนำรายได้เข้าสู่ประเทศและสร้างความหวังให้กับประเทศของเราต่อไป ผมคิดว่าทั้งหมดนี้ไม่ใช่รายละเอียดสุดท้ายเพราะนี่คือการเริ่มต้นเฉพาะความคิดของกระทรวงพาณิชย์กับกระทรวงเกษตรคิดว่าภาคส่วนอื่นๆควรจะเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยแสดงความคิดเห็นช่วยสะท้อนมุมมองของภาคอื่นๆซึ่งกระทรวงเกษตรและกระทรวงพาณิชย์ยินดีรับฟังและจะนำไปปรับต่อไป เพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิบัติให้ได้จริงให้ได้มากที่สุดไม่ว่าจะเป็นตัวเลขเป้าหมายการปรับปรุงถ้าจำเป็นต้องเกิดขึ้น " นายจุรินทร์ กล่าววิสัยทัศน์

ทางด้านนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน  รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เดินหน้า "เกษตรทันสมัย" "เกษตรปลอดภัย " ทำเกษตรในรูปแบบสมัยใหม่ นำเทคโนโลยีและข้อมูลมาใช้เพื่อทำการผลิตอย่างแม่นยำ ผลิตสินค้ามูลค่าสูง มีคุณภาพ ปลอดภัย ได้มาตรฐาน และตรวจสอบย้อนกลับได้ ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต โดยเน้นรูปแบบของเกษตรสมัยใหม่ ทั้งเกษตรรวมกลุ่ม เกษตรนวัตกรรม เกษตรปลอดภัย เกษตรแปรรูป เกษตรเทคโนโลยี และเกษตรพอเพียง โดยมีกลุ่มสินค้า ประกอบด้วย พืช ปศุสัตว์ ประมง แปรรูป และเกษตรบริการ โดยเกษตรทันสมัย จะต้องมี คุณภาพสินค้าทั้ง 1.สินค้าทั่วไป 2.สินค้ามาตรฐาน  (GAP GMP ฮาลาล ฯลฯ) 3. สินค้าพรีเมียม (GI ออร์แกนิค นวัตกรรม ฯลฯ) "เราส่งเสริม Smart farmer and young smart farmer เพื่อเปลี่ยนแปลงวิถีเกษตรจากรูปแบบเดิม ถ้าเราผลิตสินค้าเกษตรคุณภาพต่ำ เราจะไม่สามารถก้าวผ่านความเป็นประเทศยากจนได้ หากเกษตรกรอยู่ดีกินดี เราจะสามารถพูดได้เต็มปากว่าเราเป็นประเทศพัฒนาแล้ว การเกษตรเกี่ยวกับคนไทยทั้ง 70 ล้านคน และโควิด-19 ทำให้วิถีการเกษตรเปลี่ยนไป กระทรวงพาณิชย์มีหน้าที่นำเงินเข้าประเทศ ภาคเกษตรจะต้องเข้าสู่เกษตรปลอดภัย ซึ่งคือเกษตรกรต้องปลอดภัยด้วย ผู้ผลิต ผู้บริโภคต้องปลอดภัยด้วย เราได้เริ่มทำมาแล้วหนึ่งปี ซึ่งจะได้ย่างก้าวไปสู่เกษตรอินทรีย์ ทุกฝ่ายต้องทำงานอย่างระบบ หากเกษตรกรได้ทราบข่าวว่า กระทรวงพาณิชย์ จะร่วมกับ กระทรวงเกษตร เขาจะรู้สึกว่าเขามีอนาคตแล้ว เขาจะไม่ถูกทิ้ง เพราะภาครัฐจะหาเงินเพิ่มในกระเป๋าเขา แต่เราต้องเริ่มเดินไปพร้อมๆกัน " นายเฉลิมชัย กล่าว 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร กล่าวว่า กระทรวงเกษตรได้เริ่มการค้าออนไลน์ มีการทำ MOU กับ Lazada ,Grab ,Shopee แต่ออฟไลน์ก็มีความสำคัญ ได้ทำ MOU กับเทสโก้ โลตัส และแม็คโคร เพื่อนำสินค้าเกษตรคุณภาพสู่มือผู้บริโภค ยอมรับว่ากระทรวงเกษตรฯไม่ได้เป็นมืออาชีพด้านการขาย แต่การได้กระทรวงพาณิชย์มาช่วยวันนี้จะช่วยได้อีกมาก วันนี้พาณิชย์จะจับมือกับเกษตรพาเกษตรกรก้าวผ่านความยากจนไปได้ ความร่วมมือในวันนี้เป็นจุดเปลี่ยนของประเทศ และภาคเกษตรเป็นความความหวัง ในยุคโควิด-19 ฉะนั้น วันนี้เราต้องทำให้ดีที่สุดร่วมกัน

 

10 มิถุนายน 2563


บริษัท มีเดีย เน็ทเวิร์ค จำกัด
138, 140 ซอยอนามัย ถนนศรีนครินทร์ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250
MEDIA NETWORK Co.,Ltd
138, 140 Soi Anamai Srinakarin Road Suanluang Suanluang Bangkok 10250
Tel. 02 721 4417 Fax. 02 721 5516
E-mail : phototechthailand@gmail.com


ติดต่อโฆษณาหรือข้อมูลเพิ่มเติม
โทร. 02 721 4417 , 097 921 2929 คุณขวัญ

แฟนเพจ Phototech Magazine


ออกแบบโดย touronthai