ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์กับสุดยอดงานแห่งปี กับงาน สร้างสรรค์สถาปัตยกรรมและงานออกแบบพื้นถิ่น ภายใต้แนวคิด “Beyond Ordinary : ไม่ธรรมดา” ครั้งที่61
ปัจจุบันหากเราจะทำกิจกรรม หรือการงานใดๆที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรม การออกแบบ คงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ความคิดสร้างสรรค์นั้นถือเป็นองค์ประกอบหลักอันดับต้นๆที่เราควรจะต้องพิจารณาถึง เนื่องจากที่โลกของเราได้มีวิวัฒนาการอะไรหลากหลายสิ่งที่เติบโตขึ้น การที่เราจะย่ำอยู่กับที่นั้น คงจะทำให้ธุรกิจการงานของเราไม่สามารถโดดเด่นไปกว่าคนอื่นเป็นแน่ งานนี้ถือเป็นงานที่ยิ่งใหญ่แห่งปีที่รวบรวมความไม่ธรรมดาของสถาปนิก และ สถาปัตยกรรม ภายใต้แนวคิด ไม่ธรรมดา บอกได้เลยครับว่าท่านใดที่เป็นสถาปนิกเอง หรือมีความหลงใหลในการออกแบบก็ดี สถาปัตยกรรมก็ดี พลาดไม่ได้เลยนะครับ!!!
ปัจจุบันสถาปัตยกรรมในท้องถิ่นต่างๆ กำลังถูกท้าทายด้วยปรากฏการณ์โลกาภิวัตน์ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และการเปลี่ยนแปลงจากสังคมชนบทไปสู่สังคมเมือง ซึ่งงานสถาปนิก ’61 ‘ไม่ธรรมดา’ สนใจถึงกระบวนการที่สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ในรูปแบบของนิทรรศการและกิจกรรมต่างๆ ภายในงาน” ซึ่ง งานสถาปนิก ’61 (Architect Expo 2018) “Beyond Ordinary : ไม่ธรรมดา” ชูแนวคิดการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในวิถีชีวิตร่วมสมัยของสังคมไทย ในครั้งนี้ถูกสรรค์สร้างโดยสมาคมสถาปนิกสยามฯ และบริษัท ทีทีเอฟ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด โดยจะเกิดขึ้นระหว่าง วันที่ 1-6 พฤษภาคม 2561 ณ ชาเลนเจอร์ฮอลล์ 1-3 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี
นายอัชชพล ดุสิตนานนท์ นายกสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า “งานสถาปนิก เป็นงานจัดแสดงด้านสถาปัตยกรรม วัสดุและเทคโนโลยีการก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ริเริ่มโดย สมาคมสถาปนิกสยามฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 การจัดงานครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 32 โดยแต่ละปีมีผู้เข้าชมงานมากกว่า 350,000 คน และมีจำนวนผู้ให้ความสนใจมากขึ้นทุกปี เรียกได้ว่าเป็นงานที่ยิ่งใหญ่แห่งปีที่รวมทั้งผู้จัดแสดงชาวไทย และชาวต่างประเทศกว่าหลากหลายประเทศ รวมถึงสถิติ จำนวนผู้เข้างานที่เป็นชาวต่างชาติกว่าหลักหมื่นคน
ภายในงาน ท่านจะสามารถพบ Pavilion ถึง5 Pavilion ซึ่งได้แก่ Living Space Pavilion, Working Space Pavilion, Meeting Space Pavilion, Moving System Pavilion และ Introduction Pavilion นอกจากนี้ยังมีพาวิเลียนอื่นๆ ที่ออกแบบโดยสถาปนิกและดีไซเนอร์ชั้นนำของเมืองไทย รวมกว่า 18 พาวิเลียน ไฮไลต์ของการจัดงานครั้งนี้ จึงประกอบไปด้วย 2 ส่วนคือ ‘งานออกแบบพาวิเลียน’ และ ‘เนื้อหา’ ของนิทรรศการที่จัดแสดงภายใต้แนวคิด Vernacular Living ซึ่งพาวิเลียนนิทรรศการหลักทั้ง 5 ประกอบไปด้วย
1. Living Space Pavilion นิทรรศการแสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของเรือนพื้นถิ่นจากสมัยบุพกาล สมัยพัฒนา และร่วมสมัย ชี้ให้เห็นว่าการก่อสร้างที่อยู่อาศัยแบบการผลิตเป็นจำนวนมากนั้นไม่ตอบสนองต่อการอยู่อาศัยที่แท้จริง นิทรรศการถูกจัดแสดงผ่านภาพถ่ายและการออกแบบแสง และโครงร่างจำลองแม่เตาไฟ พาวิเลียนออกแบบโดย คุณบุญเลิศ เหมวิจิตรพันธ์ จาก Boon Design
2. Working Space Pavilion นิทรรศการแสดงการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่ประกอบอาชีพ จากอดีตที่เคยซ้อนทับไปกับพื้นที่อยู่อาศัย แล้วถูกแยกออกจากกันในยุคอุตสาหกรรม จนกระทั่งเทคโนโลยีสมัยใหม่ทําให้การใช้พื้นที่ทำงานและพื้นที่ส่วนตัวสามารถกลับมารวมกันอีกครั้ง จัดแสดงผ่านการจัดวางเฟอร์นิเจอร์ผสมการแสดงมัลติมีเดีย พาวิเลียนออกแบบโดย คุณจริยาวดี เลขะวัฒนา และ Mr.Luke Yeung จากบริษัท ARCHITECTKIDD
แบบจำลอง Pavilionภายในงาน
3. Meeting Space Pavilion นิทรรศการที่ว่าด้วยการซ้อนทับของกิจกรรมทางสังคมบนพื้นที่สาธารณะ และสเปซ บนโลกออนไลน์ ตั้งคําถามถึงปฏิสัมพันธ์ของพื้นที่ทางกายภาพในโลกจริง และโลกเสมือนจริง (AR) นั้นจะอยู่ร่วมกันได้อย่างไร และจะทําให้บทบาทพื้นที่สาธารณะของเมืองเปลี่ยนไปอย่างไร ความน่าสนใจอยู่ที่นิทรรศการนี้จะแสดงผ่านเกมบนแอพพลิเคชั่น พาวิเลียนออกแบบโดยคุณสุริยะ อัมพันศิริรัตน์ จากบริษัท Walllasia
4. Moving System Pavilion นิทรรศการนําเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับระบบการเดินทางและขนส่ง ตั้งคำถามต่อ กระบวนการสร้างสรรค์ระบบขนส่งท้องถิ่นอย่าง มอเตอร์ไซค์รับจ้าง รถสามล้อ เรือด่วน รถสองแถว รถพุ่มพวง ฯลฯ การพัฒนาระบบขนส่งด้วยเทคโนโลยีสื่อสารใหม่ๆ ใช้ระบบออนไลน์เป็นตัวช่วยเพิ่มระดับการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ และการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่เมือง/ย่านต่างๆ พาวิเลียนสร้างจากไม้โดยประยุกต์ใช้โครงสร้างไร้ตะปู ออกแบบโดย ศ.ดร.วีระ อินพันทัง และคุณพิช โปษยานนท์
5. Introduction Pavilion นิทรรศการจัดแสดงภาพรวมแนวคิดการจัดงานครั้งนี้ชูบทบาทและความสำคัญของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น เรื่องราวของผู้วางรากฐานการศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่สําคัญของประเทศ โครงสร้างพาวิเลียนก่อสร้างด้วยระบบ pneumatic ที่รูปทรงแปรเปลี่ยนไปตลอดเวลาตามสภาวะแวดล้อม สะท้อนเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่สร้างขึ้นโดยปราศจากสถาปนิก ออกแบบโดยคุณสาวิตรี ไพศาลวัฒนา และ Mr. Jakub Gardolinski จาก บริษัท PAGAA ร่วมกับคุณเมธัส ศรีสุชาติ จากบริษัท MAGLA
คณาจารย์ที่เป็นหนึ่งส่วนสำคัญให้งานครั้งนี้ประสบความสำเร็จด้วยดี
สามารถยืนยันได้เลยว่าทุกท่านจะพึงพอใจกับบูทการแสดงขายสินค้า และให้ความรู้ รวมถึงกิจกรรมกว่า800 แห่ง บนพื้นที่กว่า 75,000 ตารางเมตร ของอิมแพ็คเมืองทองธานี นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอีกมากมายในส่วนของบริเวณเวทีกลาง สามารถร่วมสนุกกันได้ตลอดทั้งช่วงเวลาการจัดงาน เป็นอย่างไรกันบ้างครับ มีกิจกรรมดีดี ที่น่าสนใจขนาดนี้แล้วคงไม่อยากพลาดโอกาสกันแล้วใช่มั้ยล่ะครับ ทวนกันอีกสักรอบเกี่ยวกับกิจกรรม โดยงานนี้จะจัดขึ้นใน วันที่ 1 – 6 พฤษภาคม ที่อิมแพ็คอารีน่า เมืองทองธานี
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
31 มกราคม 2561