พม. ร่วมกับ ม.มหิดล เร่งหากลไกแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว

          ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2541 เวลา ณ ห้องประชุมกรุงเทพ 2 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว กรุงเทพฯ นายเลิศปัญญา บูรณบัณฑิต อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงานโครงการสนับสนุนกลไกการพัฒนาองค์ความรู้สถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัวต่อผู้หญิงและบุคคลในครอบครัวซึ่งกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) ร่วมกับคณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โดยได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในการดำเนินโครงการดังกล่าว

          นายเลิศปัญญา กล่าวว่า ความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบ ในหลายมิติของสังคม ผลการเก็บข้อมูลผู้ขอรับบริการ จากศูนย์ช่วยเหลือสังคม โทร 1300 พบว่า ในปี 2560 มีข้อมูลเหตุการณ์ความรุนแรงในครอบครัว จำนวนทั้งสิ้น 1,869 ราย เพิ่มขึ้นจากปี 2559 ซึ่งมีจำนวน 1,578 ราย (เพิ่มขึ้น 291 ราย) แสดงให้เห็นว่า สถิติความรุนแรงในครอบครัวเพิ่มขึ้นทุกปี และข้อมูลจากเว็บไซต์ www.violence.in.th พบว่า ความรุนแรงในครอบครัวที่เป็นคดี ในปี 2559 มีจำนวน 797 คดี และในปี 2560 มีจำนวน 1,207 คดี แสดงว่าความรุนแรงในครอบครัวที่เป็นคดียังคงมีจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น ซึ่งเชื่อว่าส่วนหนึ่งเกิดจากการคุ้มครองช่วยเหลือไกล่เกลี่ยจนยุติไม่เป็นคดี ทั้งนี้ กระทรวง พม. มีความพยายามในการรวบรวมข้อมูลจำนวนผู้ประสบปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิงและความรุนแรงในครอบครัว แต่ทว่า เป็นข้อมูลที่จำกัดเฉพาะกลุ่มเป้าหมายที่เข้ามารับบริการ โดยไม่รวมถึงผู้ประสบปัญหาที่ไม่ได้เข้ามารับบริการอีกเป็นจำนวนมาก จึงถือเป็น “ช่องว่างด้านข้อมูล”

          นายเลิศปัญญา กล่าวต่ออีกว่า แต่เป็นที่น่ายินดี ที่คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยศูนย์จัดการความรู้ความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งมี ศาตราจารย์นายแพทย์รณชัย คงสกนธ์ เป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ ได้นำเรื่องสำรวจข้อมูลปัญหา  ความรุนแรงต่อผู้หญิงและบุคคลในครอบครัว ที่สามารถเป็นตัวแทนข้อมูลระดับประเทศ ชี้ให้เห็นถึงขนาดและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ปัญหาจากการสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง 2,280 ครัวเรือน พบว่ามีความรุนแรงต่อผู้หญิงและบุคคลในครอบครัว จำนวน 787 ครัวเรือน คิดเป็นความชุก ร้อยละ 34.6 เมื่อแยกตามลักษณะภูมิภาค จะเห็นว่า ภาคใต้มีความรุนแรงในครอบครัวสูงสุด (ร้อยละ 48.1) อันดับ 2 ภาคกลาง (ร้อยละ 42.5) อันดับ 3 ภาคเหนือ (ร้อยละ 33.7) อันดับ 4 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ร้อยละ 32.7) และอันดับสุดท้ายคือ กรุงเทพมหานคร (ร้อยละ 26)

          “การพัฒนาการจัดเก็บข้อมูลดังกล่าว สค. เห็นถึงประโยชน์และความสำคัญของการจัดเก็บและใช้ประโยชน์ข้อมูลเพื่อเป็นฐานข้อมูลที่ชัดเจน ในการกำหนดยุทธศาสตร์และทิศทางการดำเนินงานเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อสตรีและความรุนแรงในครอบครัว ได้อย่างแม่นยำมากขึ้น และคาดหวังว่าการประชุมในครั้งนี้ ทุกท่านจะได้รับรู้ข้อมูลสถานการณ์ความรุนแรงฯ และมีส่วนร่วมในการเติมเต็มความคิดเพื่อพัฒนาการเก็บข้อมูลความรุนแรงได้อย่างเป็นระบบต่อไป” นายเลิศปัญญา กล่าวในตอนท้าย

8 กุมภาพันธ์ 2561


บริษัท มีเดีย เน็ทเวิร์ค จำกัด
138, 140 ซอยอนามัย ถนนศรีนครินทร์ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250
MEDIA NETWORK Co.,Ltd
138, 140 Soi Anamai Srinakarin Road Suanluang Suanluang Bangkok 10250
Tel. 02 721 4417 Fax. 02 721 5516
E-mail : phototechthailand@gmail.com


ติดต่อโฆษณาหรือข้อมูลเพิ่มเติม
โทร. 02 721 4417 , 097 921 2929 คุณขวัญ

แฟนเพจ Phototech Magazine


ออกแบบโดย touronthai