ประกาศผล สุดยอดเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ครั้งที่ 18 ประจำปี 2564
ซีพี ออลล์ ประกาศผลรางวัล เซเว่นบุ๊คอวอร์ด ครั้งที่ 18 “manasawii และ 19.04” คว้ารางวัลชนะเลิศประเภทการ์ตูน จากผลงาน “LOST & FOUND” ส่วน “จเด็จ กำจรเดช” ชนะเลิศประเภทรวม เรื่องสั้น จากผลงาน “คืนปีเสือ และเรื่องเล่าของสัตว์อื่น ๆ” ด้าน “เมริษา ยอดมณฑป” ชนะเลิศประเภทวรรณกรรมสำหรับเยาวชน จากผลงาน “BECOMING A BUTTERFLY การเดินทางของผีเสื้อ หลากสี” ขณะที่ “สุกัญญา หาญตระกูล” คว้ารางวัลชนะเลิศประเภท “สารคดี” จากผลงาน “ลมพัดมิรู้ ล่วงหน้า : จารึกโรงสี ลูกจีนโพ้นทะเล”
นายประสิทธิ์ ฉกาจธรรม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหาร เซเว่น อีเลฟเว่น และเซเว่น เดลิเวอรี่ และเลขานุการคณะกรรมการกิตติมศักดิ์โครงการเซเว่นบุ๊คอวอร์ด เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลา 18 ปีของการดำเนินโครงการประกวดหนังสือ ดีเด่นรางวัลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ได้คัดสรรหนังสือดีมีคุณภาพทั้ง 7 ประเภทสู่สังคม ประกอบด้วย กวีนิพนธ์, การ์ตูน, นวนิยาย, รวมเรื่องสั้น, วรรณกรรมสำหรับเยาวชน, สารคดี และรางวัลนักเขียนรุ่นเยาว์ โดยมี วัตถุประสงค์สำคัญเพื่อยกย่องเชิดชูนักเขียนคุณภาพ สนับสนุนผลงานที่มีเนื้อหาจรรโลงสังคม มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ รวมถึงส่งเสริมให้เยาวชนพัฒนาตนเองด้านการอ่าน ในปีนี้มีผลงานที่ได้รับรางวัลทั้งสิ้นจำนวน 23 รางวัล และหนังสือแนะนำ 3 ผลงาน จากผลงานที่เข้าประกวดทั้งสิ้น 191 ผลงาน โดยผลงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ มี 5 ประเภท คือ การ์ตูน รวมเรื่องสั้น วรรณกรรมสำหรับเยาวชน สารคดี และรางวัลนักเขียนรุ่นเยาว์ หมวดกวีนิพนธ์
สำหรับผลการตัดสินการประกวดหนังสือดีเด่นรางวัลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ครั้งที่ 18 ประจำปี 2564 มีดังนี้
ทั้งนี้ ประเภทกวีนิพนธ์ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 มี 2 รางวัลได้แก่ เรื่อง ประเทศในเขาวงกต โดย ศิริวร แก้วกาญจน์ สำนักพิมพ์ผจญภัย และเรื่อง เรื่องจริงจริง ในโลกลวงลวง โดย วรภ วรภา สำนักพิมพ์ดินแดนบุ๊ค, รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 เรื่อง หัวใจป่า โดย พล พิมพ์โพธิ์ มหาวิทยาลัยรังสิต และรางวัลเสริมสร้างกำลังใจ เรื่อง ฮ่วงเฮ้า โดย คำเมือง ราวะรินทร์ สาระฅนสำนักพิมพ์
ประเภทการ์ตูน รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เรื่อง LOST & FOUND โดย manasawii และ 19.04 สำนักพิมพ์ฟูลสต๊อป, รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 เรื่อง My Playlist โดย มุนินฺ สำนักพิมพ์ 10 มิลลิเมตร, รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 เรื่อง การเดินทางของบรรณาธิการ โดย ธัญลักษณ์ เตชศรีสุธี (บ.ก.ซัน) บริษัท สตาร์พิคส์ จำกัด
ประเภทนวนิยาย รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 เรื่อง หากข้ามคืนนี้ หัวใจไม่แหลกยับเยินเสียก่อน โดย รมณ กมลนาวิน สำนักพิมพ์ RamonaSays Publisher (2020), รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 เรื่อง แด่ความคิดถึง โดย ทนุธรรม สำนักพิมพ์ปลาคาร์ป
ประเภทรวมเรื่องสั้น รางวัลชนะเลิศ เรื่อง คืนปีเสือ และเรื่องเล่าของสัตว์อื่น ๆ โดย จเด็จ กำจรเดช ผจญภัยสำนักพิมพ์, รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 เรื่อง สลายสิ้นซึ่งความหวังรังรอง โดย ตินกานต์ สำนักพิมพ์ระหว่างบรรทัด, รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 เรื่อง บินไปเหนือสะพานข้ามดาว โดย ประชาคม ลุนาชัย สำนักพิมพ์ดินแดนบุ๊ค
ประเภทวรรณกรรมสำหรับเยาวชน รางวัลชนะเลิศ เรื่อง BECOMING A BUTTERFLY การเดินทางของผีเสื้อหลากสี โดย เมริษา ยอดมณฑป สำนักพิมพ์แมงมุมบุ๊ก, รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 เรื่อง แมววัด โดย ยูโตะ ฟุคะยะ สำนักพิมพ์ผีเสื้อเด็ก ๆ, รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 เรื่อง เรื่อง ทุ่งหญ้า ป่าข้าว เจ้าเขากาง และผม โดย เอกอรุณ สำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์
สำหรับ ประเภทสารคดี (ทั่วไป) รางวัลชนะเลิศ เรื่อง ลมพัดมิรู้ล่วงหน้า : จารึกโรงสี ลูกจีนโพ้นทะเล โดย สุกัญญา หาญตระกูล สำนักพิมพ์สารคดี, รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 เรื่อง ให้โลกทั้งหลายเขาลือ : “เสด็จเตี่ย” กรมหลวงชุมพรฯ โดย ศรัณย์ ทองปาน สำนักพิมพ์สารคดี, รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 เรื่อง ทักษะความสุข โดย นิ้วกลม สำนักพิมพ์คู้บ (KOOB) ขณะที่ หนังสือแนะนำในปีนี้ มี 3 เล่ม ได้แก่ เรื่องจากศึกษาบางกุ้งถึงศึกอะแซหวุ่นกี้ : เผยโฉมยุทธศาสตร์พม่ารบไทยยุคธนบุรี โดย ศ.ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ สำนักพิมพ์เมืองโบราณ, เรื่อง โปรดโอบกอดมนุษย์ลูก โดย วีรพร นิติประภา สำนักพิมพ์แซนด์คล็อคบุ๊คส์, เรื่อง ERASMUS GENERATION โดย พชร สูงเด่น สำนักพิมพ์แซลมอน
ประเภทรางวัลนักเขียนรุ่นเยาว์ หมวดกวีนิพนธ์ รางวัลชนะเลิศ เรื่อง สถานกาลบังคับ โดย ณรงค์ชัย แสงอัคคี, รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 มี 2 รางวัลได้แก่ เรื่อง เพลงรักจากตักแม่ โดย วัชระ บุญทานัง และเรื่อง หมอกสางม่าน โดย นนทพัทธ์ หิรัญเรือง, รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 เรื่อง แผนแผ่นพ่างเมืองแมน โดย ปรัชญา พวงเพ็ชร และรางวัลเสริมสร้างกำลังใจ เรื่อง พิชิตโควิดด้วยจิตกวี โดย ด.ญ.รินรัก แซ่โค้ว สถาบันไทยปัญญ์สุข
นายประสิทธิ์ กล่าวว่า รางวัลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด เป็นโครงการที่ได้รับการตอบรับที่ดีจากนักเขียน และนักอ่านเสมอมา จนสามารถก้าวสู่ปีที่ 18 ด้วยเจตนารมณ์ที่มุ่งส่งเสริมการอ่าน การเขียน และการเรียนรู้ ซึ่งเป็นหนทางของการพัฒนาคน นำไปสู่การพัฒนาประเทศชาติ สอดคล้องกับนโยบายของ ซีพี ออลล์ ที่มุ่งส่งเสริมการศึกษา พัฒนาเยาวชนอย่างจริงจังต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม
สำหรับผู้ชนะเลิศ “เซเว่นบุ๊คอวอร์ด” ทั้ง 4 ประเภท จะได้รับรางวัลเงินสด 100,000 บาท พร้อมโล่พระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้รับเงินรางวัล 50,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) รองชนะเลิศอันดับ 2 ได้รับเงินรางวัล 30,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ส่วนประเภทรางวัลนักเขียนรุ่นเยาว์ ผู้ชนะเลิศจะได้รับรางวัลเงินสด 20,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้รับเงินรางวัล 15,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร และรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร เพื่อเป็นกำลังใจในการสร้างสรรค์งานเขียนต่อไป
ส่วนพิธีมอบโล่และรางวัลต่าง ๆ ในโครงการประกวดหนังสือดีเด่นรางวัล “เซเว่นบุ๊คอวอร์ด” ครั้งที่ 18 ประจำปี 2564 จะจัดในวันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน ศกนี้ ณ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ โดยได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์เกษม วัฒนชัย กรรมการกิตติมศักดิ์โครงการประกวดหนังสือดีเด่น รางวัลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด เป็นประธานในพิธี (การจัดงานอาจมีการเปลี่ยนแปลงกำหนดวันจัดงานโดยจะมีการ ประเมินสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 และมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 จากภาครัฐอีกครั้งหนึ่ง)
ทั้งนี้การพิจารณาตัดสินรางวัลในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิด้านงานเขียนระดับชั้นนำของประเทศร่วมคัดเลือกผลงานอย่างเข้มข้นประกอบด้วย
นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ประธานคณะกรรมการ ตัดสินประเภทกวีนิพนธ์และรางวัลนักเขียนรุ่นเยาว์ หมวด “กวีนิพนธ์”,
นายศักดา แซ่เอียว ประธานคณะกรรมการตัดสินประเภทการ์ตูนและรางวัลนักเขียนรุ่นเยาว์ หมวด “การ์ตูน”,
ศ.ดร.รื่นฤทัย สัจจพันธุ์ ประธานคณะกรรมการตัดสิน ประเภทนวนิยาย,
นายนิรันศักดิ์ บุญจันทร์ ประธานคณะกรรมการตัดสิน ประเภทรวมเรื่องสั้น,
นายวินัย รอดจ่าย ประธานคณะกรรมการตัดสิน ประเภทวรรณกรรมสำหรับเยาวชน และรางวัลนักเขียนรุ่นเยาว์ หมวด “นวนิยายขนาดสั้น” และ “รวมเรื่องสั้น”, นายวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ ประธานคณะกรรมการตัดสิน ประเภทสารคดี
22 กรกฏาคม 2564