ดีพร้อม เปิดดินเนอร์ทอล์ค ดันโลจิสติกส์ไทยให้เป็นเลิศอย่างยั่งยืน เน้นอัพสกิล ปรับธุรกิจ พร้อมสร้างเครือข่าย มุ่งสู่ห่วงโซ่อุปทานใหม่ด้านสิ่งแวดล้อม
กรุงเทพฯ 30 กรกฎาคม 2567 – กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) กำหนดทิศทางการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ภาคอุตสาหกรรม สู่เวทีเศรษฐกิจระดับโลก ด้วยการเปิดเวทีเสวนา “การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพัฒนาอุตสาหกรรมไทยด้วยการบริหารจัดการโลจิสติกส์อย่างยั่งยืน” ตามนโยบาย RESHAPE THE FUTURE : โลกเปลี่ยน อุตสาหกรรมปรับ พร้อมรับอนาคต ผ่านปรับตัวให้ก้าวทันเศรษฐกิจยุคใหม่ (RESHAPE THE INDUSTRY) โดยการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ เพื่อยกระดับการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานให้ได้มาตรฐานสากล ส่งเสริมประยุกต์ใช้เทคโนโลยี สารสนเทศและนวัตกรรมในการยกระดับมาตรฐาน ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถลดต้นทุนโลจิสติกส์และเป็นกำลังสำคัญต่อการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศต่อไปในอนาคต
นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง กล่าวว่า จากสถานการณ์ปัจจุบัน การเดินไปข้างหน้าจำเป็นต้องการการขับเคลื่อนอย่างรู้เท่าทัน ซึ่งควรมุ่งเน้น “การขับเคลื่อนจากภายในสู่ภายนอก อย่างสมดุล” โดยการยกระดับศักยภาพโลจิสติกส์ทั้งระบบ และเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจบริการโลจิสติกส์ ให้สามารถกระจายฐานการบริการและการลงทุนที่เชื่อมโยงในอาเซียนอย่างมีเสถียรภาพ ผลักดันให้ไทย เป็นศูนย์กลางของโลจิสติกส์ในอนุภูมิภาคและภูมิภาคอาเซียน ด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนการแข่งขันบนฐานการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการและบุคลากรภาคอุตสาหกรรมด้านโลจิสติกส์ให้มีทักษะสูง สนับสนุนการดำเนินกิจกรรมทางโลจิสติกส์ให้มีความปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพิ่มโอกาสผู้ประกอบการไทยใหเชื่อมโยงกับหวงโซมูลคาระดับภูมิภาคและระดับโลก ดังนั้น กระทรวงอุตสาหกรรม ภายใต้ การนำของ นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) เสริมสร้างความสามารถการดำเนินธุรกิจให้กับผู้ประกอบการด้วยการบริหารจัดการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน
นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า ตามนโยบาย RESHAPE THE FUTURE : โลกเปลี่ยน อุตสาหกรรมปรับ พร้อมรับอนาคต ของนายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริม อุตสาหกรรม ผ่านปรับตัวให้ก้าวทันเศรษฐกิจยุคใหม่ (RESHAPE THE INDUSTRY) ได้มุ่งเน้นการส่งเสริม ด้านการจัดการโลจิสติกส์ในสถานประกอบการ 4 ด้าน คือ 1) การยกระดับระบบปฏิบัติการโลจิสติกส์และ โซ่อุปทานภาคอุตสาหกรรม (Logistics Consult) ดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญผู้มีประสบการณ์ด้วยการเข้าไปวินิจฉัยศักยภาพด้านโลจิสติกส์ และให้คำปรึกษาแนะนำ ณ สถานประกอบการ 2) การสร้างนักโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมมืออาชีพผ่านการฝึกอบรมและส่งเสริมให้บุคลากรด้านโลจิสติกส์ และซัพพลายเชน ให้มีความรู้ตามหลักสูตรมาตรฐานสากล 3) การสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการพัฒนาการมาตรฐานด้านโลจิสติกส์ของ ประเทศไทย พร้อมการส่งเสริมมาตรฐานความปลอดภัยในโซ่อุปทาน และการจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ และ 4) การส่งเสริมการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อช่วยในการวางแผนทรัพยากรองค์กรการจัดการคลังสินค้าและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์
นายวัชรุน กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปี 2567 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ได้มุ่งเน้น การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ใน 5 ภูมิภาค จำนวน 310 กิจการ ให้มีความสามารถในการยกระดับการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานให้ได้มาตรฐานสากล ส่งเสริมประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมในการยกระดับมาตรฐาน และช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถลดต้นทุนโลจิสติกส์ อาทิ ต้นทุนการถือครองสินค้าคงคลัง ต้นทุนกาบริหารคลังสินค้า ต้นทุนการขนส่ง และต้นทุนบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ ซึ่งเป็นต้นทุนสำคัญในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งคาดว่าจะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้กว่า 1,800 ล้านบาท และการคาดการณ์ว่าในปี 2568 จะดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาสถานประกอบการ จำนวน 350กิจการ คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ 2,100 ล้านบาท
นายมนตรี วงค์มั่นกิจการ ผู้อำนวยการกองโลจิสติกส์ กล่าวว่า กิจกรรมดินเนอร์ทอล์คในครั้งนี้ เป็นการเผยแพร่แนวปฏิบัติการบริหารจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนในภาคอุตสาหกรรมที่เป็นเลิศ (Logisticsand Supply Chain Management Best Practices) ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในภารกิจของกองโลจิสติกส์ซึ่งต่อยอดจากภารกิจหลักในด้านการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการตลอดจนบุคลากรภาคอุตสาหกรรมให้ประยุกต์ ใช้เทคนิคการบริหารจัดการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ และสามารถปรับปรุงระบบโลจิสติกส์ของสถานประกอบการให้มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเป็นกระบวนการที่สำคัญในการพัฒนาและจัดการกิจกรรมทางธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ โดยมีเป้าหมายเพื่อเป็นเวทีในการสร้างองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการโลจิสติกส์จากการเผยแพร่แนวปฏิบัติการบริหารจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน และเป็นการสร้างโอกาสในการเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพและยกระดับผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมและบริการด้านโลจิสติกส์ ซึ่งภายในงานมีการจัดบรรยายความรู้ เวทีเสวนา และการจัดแสดงผลิตภัณฑ์และบริการด้านโลจิสติกส์ ที่จะสร้างประโยชน์ให้กลุ่มผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมและบริการด้านโลจิสติกส์ ให้สามารถต่อยอดธุรกิจ เพิ่มศักยภาพการจัดการโลจิสติกส์และเป็นกำลังสำคัญต่อการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศต่อไปในอนาคต นายมนตรีกล่าวทิ้งท้าย
29 กรกฏาคม 2567