พระแม่โพสพ เทพีแห่งข้าว (Goddess of rice)

วันนี้ได้มีโอกาสพบกับ รศ.ดร.สุวัฒน์  แสนขัติยรัตน์  อาจารย์คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี  ที่สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในงานแถลงข่าว “การนำผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมไทยร่วมประกวดและจัดแสดงในเวทีนานาชาติ : เวที 46th International Exhibition of Inventions Geneva และเวที 8th International Engineering Invention & Innovation Exhibition 2018 (i-ENVEX 2018)”  จึงได้ขอให้ท่านเล่าถึงความภาคภูมิใจกับผลงานในครั้งนี้

 

พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี มอบประกาศนียบัตรให้ รศ.ดร.สุวัฒน์  แสนขัติยรัตน์ 

ผมนำความภาคภูมิใจของความเป็นไทยโดยนำศิลปะและวัฒนธรรม  เข้ามาหล่อหลอมเป็นงานประติมากรรมชั้นสุดยอด ซึ่งเป็นการเพิ่มคุณค่าทางจิตใจ และเพื่อให้ชาวนาได้มีที่ยึดเหนี่ยว สร้างขวัญ กำลังใจ กราบไหว้ขอพรกัน แล่ะสิ่งนี้คือ พระแม่โพสพ เทพีแห่งข้าว (Goddess of rice)

ความสำคัญและที่มาของการวิจัยสร้างสรรค์

ข้าวเป็นธัญพืชที่มนุษย์ใช้เป็นอาหารมาแต่อดีตกาล เพื่อการดำรงอยู่และหล่อเลี้ยงชีวิตมนุษย์ให้ความสำคัญและในฐานะพืชพรรณที่จุนเจือโลกทั้งชาวตะวันตก และโดยเฉพาะชาวตะวันออกมีหลายประเทศปลูกข้าวเป็นอาหารหลัก โดยมีพิธีกรรมและความเชื่อ ที่มีความเหมือนและคล้ายคลึงกันในแถบประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้มีการ ทำนาปลูกข้าวก็จะมีการทำขวัญหรือพิธีขอพรแด่พระโพสพในฐานะเทพีแห่งข้าว ในการและการกสิกรรมเป็นการแสดงความเคารพบูชาในเชิงจิตวิทยา ถือว่าเป็นเรื่องของการส่งเสริมกำลังใจภาคเกษตรกรรม งานประติมากรรมก็จะเป็นการสร้างภาพลักษณ์แห่งความสัมพันธ์ ซึ่งเป็นรูปลักษณ์แห่งจินตภาพที่มาจากภายใน(Mental Image) เชื่อมโยงความเชื่อของมนุษย์กับชุมชนในการอยู่ร่วมกับธรรมชาติพืชพันธุ์ธัญญาหารที่มีคุณค่าแก่ชีวิต ในเชิงบุคลาธิษฐาน (Personification) การแสดงอุดมคติทางความรู้สึกสภาวะ แห่งความเป็นเทพธิดาที่เหนือไปจากมนุษย์ปกติ แสดงทิพย์ภาวะของรูปลักษณ์ เทพธิดาระดับสูงซึ่งภาพลักษณ์ของพระแม่โพสพ ทั้งงานจิตรกรรมและประติมากรรม ต่างก็มีการสร้างสรรค์ขึ้นแต่ยังไม่มีการรวบรวมและพัฒนาขึ้นมาใหม่ให้เหมาะสมกับยุคสมัยปัจจุบันจึง ได้ทำการวิจัยสร้างสรรค์ในเรื่องนี้

นวัตกรรมรูปประติมากรรมพระแม่โพสพเทพีแห่งข้าว

เป็นศิลปะที่มีผลต่อขวัญและกำลังใจของชาวนาผู้มีอาชีพปลูกข้าวหล่อเลี้ยงชีวิตมนุษย์ซึ่งรูปลักษณ์แห่งศรัทธานี้เกิดจากการพัฒนาจากเดิมที่เป็นประติมากรรมที่ปั้นด้วยดินเหนียวหรือจะสลับไม้ที่ไม่มีความคงทน จึงสร้างเป็นโลหะบรอนซ์ ดังนั้นถือว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ในการทำผิวโลหะบรอนซ์

นำเอาองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และศิลปะมาผสมผสานเป็นหนึ่งเดียว

นวัตกรรมในงานประติมากรรมพระแม่โพสพเทพีแห่งข้าวนี้ เป็นการเอาองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และความเข้าใจเรื่องสีกับปฏิกิริยาทางเคมีมาใช้กับการทำสีโลหะทองแดงและสร้างสรรค์สีสนิมเขียวพิเศษ ด้วยเทคนิคทำสีผิวโลหะ (patina) ซึ่งเป็นการใช้ความรู้ทางสูตรเคมีในการนำสีผิวโลหะอันเป็นวิทยาศาสตร์เชื่อมโยงกับการคำนวณอุณหภูมิในการหลอม ซึ่งเป็นคณิตศาสตร์กับงานศิลปะเข้าด้วยกันให้เกิดสุนทรียะใหม่ทางศิลปะบูรณาการทั้งสองศาสน์ เพื่อให้บรรลุความงานก่อเกิดความศรัทธาต่อรูปเคารพอันมีผลทางจิตใจต่อผู้บูชา คือชาวนาผู้ผลิตข้าวจึงเป็นการสร้างสรรค์ศิลปะเพื่อชุมชนและมวลชนในปลายทางของงานวิจัยพระแม่โพสพจึงมีความหมายและความสำคัญยิ่งต่อขวัญและกำลังใจของชาวนาผู้ผลิตเมล็ดข้าว

ร่วมแรงร่วมใจกันบูรณาการ

การสร้างสรรค์นวัตกรรมประติมากรรมพระแม่โพสพด้วยโลหะ และการทำสีสนิมเขียวเป็นรูปเทพีแห่งข้าว เพื่อติดตั้งกลางชุมชนของโรงเรียนชาวนา พุทธเศรษฐศาสตร์ ณ ศูนย์วิปัสสนาสากล ไร่เชิญตะวัน จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องการปลูกข้าวและพิธีการสร้างขวัญและกําลังใจในการบูชาพระแม่โพสพ โดยมี วัด ชุมชน และนักวิจัย นับเป็นตัวขับเคลื่อน มีตัวแทนวัดคือพระสงฆ์ร่วมด้วยกับชุมชนชาวนาประมาณ 500 ครอบครัว และมีนักวิจัยผู้สร้างสรรค์อันเป็น 3 ส่วนแห่งการบูรณาการ เพื่อทำให้วัฒนธรรมการปลูกข้าวและการเรียนรู้วิธีบูชา เพื่อขวัญและกำลังใจในการทำนาปลูกข้าวเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีได้ก่อเกิดประโยชน์เลี้ยงชีพมนุษย์ ฉะนั้น “ข้าว” จึงเป็นวิถีชีวิตมากกว่าเป็นแค่อาหารเลี้ยงชีพ ประติมากรรมพระแม่โพสพเป็นเสมือนศูนย์รวมจิตใจของชุมชนและบ่อเกิดวัฒนธรรมข้าวในสังคมเกษตรกรรมทั่วภูมิภาคเอเชียอาคเนย์

ทางผู้แทนกรรมการชมรมพุทธศิลป์ธกส ได้เข้าเฝ้าถวายเงินสมทบค่าใช้จ่ายศูนย์เรียนรู้ฯจำนวนหนึ่งล้านบาท  

ความตั้งใจในการจัดสร้างเหรียญพระแม่โพสพ เทพีแห่งข้าว (Goddess of rice)

เทพีที่นำความอุดมสมบูรณ์มาสู่ภาคการเกษตรของไทย  ด้วยความตั้งใจของชมรมฯ จนกระทั่งผลงานนี้ได้กลายเป็นเหรียญประวัติศาสตร์ที่เป็นเลิศด้านพุทธศิลป์จนยากยิ่งที่จะมีใครรังสรรค์ได้สำเร็จด้วยดีเช่นนี้

ทั้งนี้ยังได้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์หลักสองประการคือเพื่อนำรายได้หักค่าใช้จ่ายไปสนับสนุนการสร้างโอกาสให้กับผู้คนได้เรียนรู้และดำรงชีวิต ด้วยการสนับสนุนการดำเนินงานศูนย์เรียนรู้  และจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้กับโรงพยาบาลที่ขาดแคลนในชนบทอีกด้วย

       พร้อมกันนี้ได้มีการดำเนินการทยอยการส่งมอบอุปกรณ์ ทางการแพทย์ให้กับ 27โรงพยาบาล

ติดตามผลงานได้ทางแฟนเพจ : Suwat Saenkattiyarat   หรือ เบอร์ติดต่อ 081 989 8305

5 พฤษภาคม 2561


บริษัท มีเดีย เน็ทเวิร์ค จำกัด
138, 140 ซอยอนามัย ถนนศรีนครินทร์ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250
MEDIA NETWORK Co.,Ltd
138, 140 Soi Anamai Srinakarin Road Suanluang Suanluang Bangkok 10250
Tel. 02 721 4417 Fax. 02 721 5516
E-mail : phototechthailand@gmail.com


ติดต่อโฆษณาหรือข้อมูลเพิ่มเติม
โทร. 02 721 4417 , 097 921 2929 คุณขวัญ

แฟนเพจ Phototech Magazine


ออกแบบโดย touronthai