โครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จังหวัดจันทบุรี II

6. บ้านปะตงล่าง หมู่ ๕ ตำบลทรายขาว อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี

“สุขทุกวันที่จันทบุรี  สุขทุกวินาทีที่ทรายขาว  หมู่บ้านช้างใหญ่  กระวานพันธุ์ดี  น้ำตกเขาสอยดาว  การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์”

ประวัติความเป็นมา

หมู่บ้านทอยู่ห่างจากตัวอำเภอ ๓ กม. เดิมเป็นหมู่บ้านที่มีคนไทย จีน ขอม (เขมร) ย้ายถิ่นมา ตั้งแต่สมัยที่ยังไม่มีการแบ่งพรมแดนประเทศที่ชัดเจน ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ มีการตั้งรกรากสร้างบ้านทำการเกษตรในพื้นที่บริเวณวัดปะตง และบ้านนา ปะตง เป็นภาษาเขมรแปลว่า เที่ยงตรง   โดยมีเรื่องเล่าว่า  มีพระเดินธุดงค์เดินทางมาถึงบริเวณนี้ตอนเที่ยงตรงพอดี   

สำนักกระวานเขาสอยดาว

กระวานที่บ้านปะตงล่างได้ชื่อว่ามีคุณภาพดีที่สุดในประเทศไทย  เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับการปลูกและเพาะพันธุ์กระวาน  จึงเกิดเป็นสำนักกระวานขึ้น โดยสํานักกระวานเป็นเพิงที่พักอยู่อาศัยระหว่างที่ทำการเก็บเกี่ยวกระวานวิธีการเก็บกระวานจะเก็บ ช่อร่วงที่ออกบริเวณใต้โคนต้นซึ่งจะออกเฉพาะต้นที่อยู่บนภูเขาเท่านั้นแล้วนำเมล็ดกระวานไปย่างไฟให้แห้ง  สํานักกระวานจึงจำเป็นต้องก่อไฟไว้ตลอดเพื่อใช้ย่างกระวานและเพื่อเป็นสัญญาณไว้กันสัตว์ป่า

หอชมช้าง

หมู่บ้านปะตงล่าง  เป็นหมู่บ้านที่มีโขลงช้างให้พบเห็นอยู่เสมอ จึงมีการสร้างหอสังเกตการณ์ไว้สังเกตการณ์เส้นทางเดินของช้าง สำหรับนักท่องเที่ยวจะได้ร่วมกิจกรรมยิงกระสุนพันธุ์ไม้ป่า  เพื่อเป็นการขยายพันธุ์ต่อไป

นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวเช็คอินมากมาย อาทิเช่น ศาลเจ้าพ่อสอยดาว, น้ำตกเขาสอยดาว, ศาลาอายุ ๔,๐๐๐ ปี

ผลิตภัณฑ์

กังหัน  ไอศกรีม  แคปหมู  หมูยอ  สุ่มไก่  ชากระวาน  น้ำดื่มสมุนไพร  มีดประดิษฐ์  ปุ๋ยหมัก  ลำไยอบแห้ง

ข้อมูลติดต่อ

บ้านปะตงล่าง หมู่ ๕ ตำบลทรายขาว อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี

คุณสุกี้  โทร. ๐๙๒ ๒๖๓ ๕๔๓๘   

7. บ้านเตาถ่าน  หมู่ ๕  ตำบลทุ่งขนาน  อำเภอสอยดาว  จังหวัดจันทบุรี

“เตาถ่านพัฒนา ประปาดื่มได้ ค้าขายชายแดนเขมร เน้นวัฒนธรรมสืบสาน งานบุญร่วมใจ ห่างไกลยาเสพติด

ช่วยกันคิดช่วยกันทำ นำชุมชนสู่ความเข้มแข็ง”

ประวัติความเป็นมา

            ก่อน พ.ศ. ๒๕๑๕  บ้านเตาถ่านมีสภาพทั่วไปของพื้นที่เป็นป่าดงดิบต่อมามีราษฎรจากหลายจังหวัดอพยพมาอาศัยอยู่ เพื่อประกอบอาชีพทางการเกษตรคนในชุมชนได้ใช้เศษไม้จากการทำที่อยู่อาศัยและการทำการเกษตรนำมาเผาถ่านโดยเตาเผาถ่าน มีลักษณะเป็นเตาอบ  ราษฎรในพื้นที่และผู้ที่สัญจรไปมาพบเห็นว่าบริเวณแห่งนี้มีการเผาถ่านและมีเตาเผาถ่านลักษณะดังกล่าว  จึงเรียกขานบริเวณแห่งนี้สืบต่อกันมาว่า “บ้านเตาถ่าน” เมื่อความเจริญเพิ่มมากขึ้นก็ได้มีราษฎรจากหลายจังหวัดอพยพเข้ามาทำกินในบริเวณแห่งนี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวเช็คอินมากมาย อาทิเช่น เที่ยวชุมชนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงเกษตรแปลงใหญ่หญ้าเนเปียร์, ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนตามรอยประวัติศาสตร์, ชุมชนรำลึกวีรชนคนกล้าเชื่อมโยงวัฒนธรรมสองแผ่นดินชมชิมสินค้า OTOP เลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ไม้ของฝาก และการแปรรูปไม้ , กราบขอพรพระใหญ่วัดเขาแจงแบง

ผลิตภัณฑ์

พริกแกง  ชาดาวอินคา  โลชั่นดาวอินคา  กระเทียมดอง  ผักอินทรีย์  ข้าวอินทรีย์  ขนมถ้วย  แหนมหมู  แคปหมู  ผ้าบาติก

ข้อมูลติดต่อ

บ้านเตาถ่าน  หมู่ ๕ ตำบลทุ่งขนาน อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี

คุณเสนาะ  ๐๘๑ ๑๕๕ ๐๖๒๘  คุณบุญประคอง ๐๘๑ ๒๕๙ ๗๕๒๗

8. บ้านซับตารี  หมู่ ๒ ตำบลทุ่งขนาน  อำเภอสอยดาว  จังหวัดจันทบุรี “รำลึกวีรชน ๑๙ ธันวา หอพระพุทธบูชาคู่บ้าน สืบสานวัฒนธรรมไทย บุญบั้งไฟประเพณี”

ประวัติความเป็นมา

            หมู่บ้านซับตารี เป็นหมู่บ้านเขตชายแดนไทยกัมพูชา มีการเข้ามาตั้งถิ่นฐานราวปี พ.ศ. ๒๕๑๘ โดยตาหวังและตาจง ย้ายถิ่นฐานมาจากอำเภอพิบูลมังสาหารและอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี ที่เรียกว่าหมู่บ้านซับตารีเพราะบริเวณหมู่บ้านมีตาน้ำซึ่งภาษาถิ่นจะเรียกว่าซับ  และชาวบ้านที่อาศัยอยู่ใกล้ตาน้ำ หรือ ซับ มีชื่อว่าตารี  จึงเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้าน ซับตารี ซึ่งวิถีชีวิตความเป็นอยู่ยังคงความเป็นชาวอีสาน ไม่ว่าจะอาหารการกิน หรือ งานบุญประเพณีต่างๆ เช่น  การสวดซำฮะ หรือ การแห่บั้งไฟ

ตลาดชายแดนซับตารี

            เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๔  ก่อนจะเป็นตลาดซับตารี ทั่วบริเวณตลาด คือ จุดพักไม้  กองไม้สัมปทานจากรัฐบาลกัมพูชาส่งต่อโรงงานแปรรูปในไทย  แต่เมื่อสหประชาชาติและนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมคัดค้านการตัดไม้จากกัมพูชา จึงทำให้สิ้นสุดการทำไม้บริเวณชายแดน

            ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ หลังสงครามสงบลง  ตลาดการค้าชายแดนขยายตัวเริ่มมีชาวกัมพูชาอพยพเข้ามาหากินและทำการค้าขายเล็กๆ น้อยๆ ร่วมกับคนไทย  โดยนำสัตว์ป่า  ของป่า  สมุนไพร  และของที่หาได้จากป่า  เช่น  น้ำผึ้งป่ามาค้าขายในแนวชายแดนหมู่บ้านซับตารี

            และนี่ก็คือจุดเริ่มต้นของตลาดซับตารีจากร้านค้าของคนไทยและคนกัมพูชาที่มีเพียงไม่กี่ร้าน  จึงค่อยๆ เติบโตขึ้นเป็นร้านค้าเกือบ ๑๐๐ ร้าน และทำให้ตลาดแห่งนี้กลายเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนรายได้ระหว่างสองประเทศอย่างมหาศาล  ปัจจุบันเป็นจุดผ่อนปรนบ้านซับตารี  ชาวกัมพูชายังคงข้ามแดนเข้ามาซื้อสิ่งของ  เครื่องอุปโภคบริโภค  เสื้อผ้า  ของใช้  อาหาร  ผลไม้  และยังคงเดินทางเข้ามารับจ้างเป็นแรงงานตามสวนผลไม้ในพื้นที่อำเภอสอยดาวอีกด้วย

ผลิตภัณฑ์

กระเทียมแห้ง  หอมแดง  ข้าวเหนียว  ทอเสื่อพื้นบ้าน  น้ำสมุนไพร  ไส้อั่ว  ไส้กรอก  กล้วยฉาบ  กล้วยอบน้ำผึ้ง  ข้าวเกรียบหูช้าง

ข้อมูลติดต่อ

บ้านซับตารี  หมู่ ๒  ตำบลทุ่งขนาน  อำเภอสอยดาว  จังหวัดจันทบุรี

คุณนันทะ ๐๘๐ ๖๓๑ ๓๔๔๔  ๐๘๒ ๕๙๖ ๘๙๙๕ 

9. บ้านสวนส้ม หมู่ที่ 5 ตำบลสะตอน  อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี

“ผลิตภัณฑ์จากไม้  ค้าขายชายแดน  แน่นเฟ้นเพื่อนบ้าน  ด้านการเกษตรนำร่อง”

ประวัติความเป็นมา

ปี พ.ศ. ๒๕๑๗ - ๒๕๑๘ เดิมทีบริเวณนี้เป็นพื้นที่ทำสวนส้มโอของนายสมพงษ์ ณ บางช้าง  มาก่อนหลังจากนั้น ก็มีการรวบรวมกลุ่มชาวบ้านที่กระจัดกระจายอยู่บริเวณนั้นเพื่อก่อตั้งเป็นหมู่บ้านเขตป้องกันตัวเองชายแดนจันทบุรี เพื่อความมั่นคง  ในปีพ.ศ. ๒๕๒๕ - ๒๕๒๖ จึงตั้งชื่อว่า “บ้านสวนส้ม”

ในช่วงนั้นมีสงครามระหว่างเวียดนามและเขมรแดง  หลังจากที่สงครามเริ่มสงบจึงมีการประกาศเปลี่ยนสนามรบ

เป็นสนามการค้า  และเริ่มทำการค้าไม้ระหว่างไทยและกัมพูชา ตลาดการค้าไม้ในสมัยนั้นได้รับความนิยมมากจึงทำให้ช่างไม้จากทั้งทางภาคเหนือและอีสานย้ายถิ่นฐานเข้ามาในบ้านสวนส้มจนเป็นชุมชนอุตสาหกรรมงานไม้และเฟอร์นิเจอร์

ตลาดเฟอร์นิเจอร์

มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักว่าตลาดสวนส้มส่วนใหญ่ได้รับการสืบทอดผีมือช่าง  ตั้งแต่โบราณจากรุ่นสู่รุ่นนิยมแปรรูปไม้ ทุกชนิดเพื่อสร้างเป็นเฟอร์นิเจอร์ทั้งขนาดใหญ่  ขนาดกลาง  เช่น  ตู้  โต๊ะ  เตียง  บานประตู  และของที่ระลึกขนาดเล็ก เช่น  พวงกุญแจ  ป้ายที่ทำจากไม้แบบต่างๆ

สวนกล้วยไข่ ๓,๐๐๐ ไร่

เป็นการรวมพื้นที่ของชาวบ้านที่ปลูกกล้วยไข่เหมือนกันจัดเป็นวิธีเกษตรของชาวบ้านในชุมชนที่สามารถส่งเสริม การเรียนรู้ให้กับนักท่องเที่ยวได้  และเพิ่มเติมกิจกรรมต่าง ๆ เช่น  ขี่รถไถ  รถซาเล้ง  และรถอีแต๊ก

นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวเช็คอินมากมาย อาทิเช่น วัดเขาแจงแบง, หลุมหลบภัยตรงบริเวณชายแดน, ตลาดประชารัฐ

ผลิตภัณฑ์

ป้ายไม้ธรรมชาติ  ไข่เค็ม  ปลาร้าสับสมุนไพร  น้ำพริกเผา  น้ำปลาร้าต้มปรุงรส  กล้วยกวน  กล้วยฉาบ  กล้วยตากอบน้ำผึ้ง  ถ่านอัดแท่ง  ลำไยอบเนื้อทอง

ข้อมูลติดต่อ

บ้านสวนส้ม หมู่ 5 ตำบลสะตอน อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี

คุณมนัส ๐๘๙ ๐๑๔ ๐๒๖๔

10. บ้านแหลม หมู่ ๔  ตำบลเทพนิมิต อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี

“ดินแดนสองแผ่นดิน ถิ่นประวัติศาสตร์”

ประวัติบ้านแหลม

เดิมเป็นหมู่บ้านขนาดเล็กได้ก่อตั้งมาแล้วกว่าร้อยปี สาเหตุที่ชื่อว่าบ้านแหลมเนื่องจากว่าอยู่ในปลายแหลมสุดของแม่น้ำที่กั้นพรมแดนไว้ ปัจจุบันบ้านแหลมได้มีจุดข้ามแดนถาวรผู้คนบ้านแหลมมีวิถีชีวิตที่เรียบง่ายมีภาษาท้องถิ่นเป็นของตัวเองยังถือได้ว่าเป็นชุมชนชนบท พึ่งพาอาศัยกันแบบพี่น้อง ภายในชุมชนบ้านแหลมมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีโรงปฐมวัย และวัดบ้านแหลม

วัดบ้านแหลม

วัดบ้านแหลมก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ ๒๔๔๐ อยู่คู่ชุมชนมากกว่า ๑๐๐ ปี โดยมีหลวงตาตุ๋ยเป็นเจ้าอาวาสปกครองรูปแรกสมัยก่อนเกิดสงครามภายในกับประเทศกัมพูชาซึ่งส่งผลกระทบต่อชุมชนมีลูกปืนใหญ่ข้ามแดนมาตกที่หมู่บ้านหลวงตาตุ๋ยเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจและเป็นที่เลื่อมใสของชาวบ้านในขณะนั้นให้การดูแล ปัจจุบันวัดบ้านแหลมได้รับการบูรณะวัดให้มีความสวยงามร่มเย็นเหมาะสำหรับชาวบ้านและนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาทำบุญพร้อมนมัสการ

หลุมหลบภัย

เมื่อปี พ.ศ ๒๕๑๘  ได้เกิดสงครามเขมรแดง ซึ่งสร้างผลกระทบต่อชุมชนบ้านแหลมอย่างหนัก ได้มีลูกกระสุนปืนใหญ่ตกเข้ามาในชุมชน ต่อมาปี พ.ศ ๒๕๒๐ ทางการได้มีงบประมาณสร้างหลุมหลบภัยให้กับชุมชนบ้านแหลมเพื่อให้ความปลอดภัยกับคนในชุมชน

นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวเช็คอินมากมาย สวนผักออแกนิก, ต้นไทรร้อยปี, คลองคูเรต

ผลิตภัณฑ์

น้ำสมุนไพรเพื่อสุขภาพ  ลูกประคบสมุนไพร  ไข่เป็ดหนูดี  ถ่านโลกเขียว  ผักทานตะวันงอก  ปุ๋ยหมักมูลไก่  ผักอินทรีย์  กระบุงจักสาน   น้ำพริกเผากากหมูแหลมทอง  ข้าวเกรียบลำไย

ข้อมูลติดต่อ

บ้านแหลม หมู่ ๔  ตำบลเทพนิมิต อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี

คุณสมจิตร์ พิศพรรณ  โทร. ๐๙๘ ๐๖๒ ๙๘๗๐

23 พฤศจิกายน 2561


บริษัท มีเดีย เน็ทเวิร์ค จำกัด
138, 140 ซอยอนามัย ถนนศรีนครินทร์ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250
MEDIA NETWORK Co.,Ltd
138, 140 Soi Anamai Srinakarin Road Suanluang Suanluang Bangkok 10250
Tel. 02 721 4417 Fax. 02 721 5516
E-mail : phototechthailand@gmail.com


ติดต่อโฆษณาหรือข้อมูลเพิ่มเติม
โทร. 02 721 4417 , 097 921 2929 คุณขวัญ

แฟนเพจ Phototech Magazine


ออกแบบโดย touronthai